ค่าเสื่อมราคาคืออะไร? วิธีคิดค่าเสื่อมราคา ง่ายๆ เจ้าของธุรกิจก็ทำได้

ค่าเสื่อมราคาคืออะไร? เผย 5 วิธีคิดค่าเสื่อมราคาง่ายๆเจ้าของธุรกิจก็ทำได้พร้อมไฟล์คำนวณ

มันคงจะแย่มาก หากว่าบริษัททำการซื้อตึกหรืออาคารมาในราคา 10 ล้านบาท แล้วบริษัทจะต้องมาบันทึกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีทั้งหมดด้วยยอด 10 ล้านบาททันทีในปีนั้น เพื่อลดปัญหานี้ทางสภาวิชาชีพบัญชีจึงได้เสนอทางออกให้กับเจ้าของธุรกิจ โดยทำการกระจายหรือปันส่วนค่าใช้จ่ายออกมา แล้วเฉลี่ยอย่างเป็นระบบตามอยู่การใช้งานของสินทรัพย์

ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) คือ การปันส่วนค่าใช้จ่ายของสินทรัพย์ออกไปให้เท่า ๆ กันอย่างมีระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้น

การคำนวณค่าเสื่อมราคาจะถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในรอบบัญชีปัจจุบัน ทำให้ตัวเลขในงบการเงินของบริษัทมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และยังเป็นเหมือนตัวช่วยในการตัดสินใจ เพราะ เจ้าของสามารถประเมินอายุคร่าว ๆ ของสินทรัพย์ได้ ว่าเครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีอยู่นั้นกำลังจะเสียหรือว่าควรเปลี่ยนใหม่ตอนไหน นอกจากนี้ยังประเมินความคุ้มค่าก่อนทำการตัดสินใจในการซื้อได้ด้วย ว่าเหมาะที่จะลงทุนซื้อมาหรือเพียงแค่ทำการเช่าก็เพียงพอแล้ว อ่านหัวข้อเช่าหรือซื้อเพิ่มเติม คลิก

เน้นย้ำอีกครั้ง ค่าเสื่อมราคาไม่ใช่สิ่งที่ต้องควักเงินจริง ๆ ออกมาจ่ายแต่อย่างใด เป็นเพียงการกระจายค่าใช้จ่ายในทางบัญชีออกมาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้งบการเงินมีความถูกต้องและสมเหตุสมผลมากขึ้น

ศึกษาเพิ่มเติม ตัวอย่างการคำนวณสามารถโหลดไปใช้ได้เลย
หากเข้าใจแล้ว สามารถกดไปที่หัวข้อที่สนใจได้เลย!

5 วิธีคิดค่าเสื่อมราคา พร้อมเช็ควิธีคิดที่เหมาะกับธุรกิจคุณ

1. วิธีเส้นตรง (Straight Line Method)
2. วิธียอดลดลงทวีคูณ (Double Declining Balance Method)
3. วิธีผลรวมจำนวนปี (Sum-of-the-year Method)
4. วิธีจำนวนผลผลิต (Unit of Production Method)
5. วิธีรายปี (Annuity Method)

1.วิธีเส้นตรง (Straight Line Method)

เป็นวิธีการคำนวณแบบตรงไปตรงมาและง่ายที่สุด เหมาะสำหรับสินทรัพย์ที่มีการใช้งานตามปกติ

วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา วิธีเส้นตรง

ค่าเสื่อมราคา = (ราคาต้นทุน – มูลค่าซาก) / อายุการใช้งาน
อัตราค่าเสื่อมราคา = 100 / อายุการใช้งาน

ตัวอย่าง
อาคารมูลค่าที่ซื้อ 10 ล้านบาท และทำการต่อเติมอาคารจนใช้งานได้อีก 3 ล้านบาท ในอนาคตหากว่าไม่ใช้อาคารแล้วทำการขายออกไป คาดว่าจะสามารถขายได้ในราคา 1 ล้านบาท อาคารโดยปกติจะมีอายุการใข้งานอยู่ที่ 20 ปี

ดังนั้น
ค่าเสื่อมราคา = [ (10+3) – (1) ] / 20 = (13 – 1) / 20 = 12/20 = 0.6 ล้านบาท หรือ 6 แสนบาทต่อปีนั่นเอง

สรุป อาคารหลังนี้ หากคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรงจะต้องทยอยรับรู้ค่าเสื่อมราคาปีละ 6 แสนบาท

ปีที่ มูลค่าตามบัญชี อัตราค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาสะสม
0 12,000,000 5% 600,000 600,000
1 11,400,000 5% 600,000 1,200,000
2 10,800,000 5% 600,000 1,800,000
5%
20 0 % 0 12,000,000

2. วิธียอดลดลงทวีคูณ (Double Declining Balance Method)

เป็นวิธีการคำนวณโดยจะคิดค่าเสื่อมราคาด้วยมูลค่าที่เยอะในช่วงแรก แล้วจะทยอยค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ ในปีหลัง

วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา วิธียอดลดลงทวีคูณ

ค่าเสื่อมราคา = อัตราค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง X 2

ตัวอย่าง
อาคารมูลค่าที่ซื้อ 10 ล้านบาท และทำการต่อเติมอาคารจนใช้งานได้อีก 3 ล้านบาท ในอนาคตหากว่าไม่ใช้อาคารแล้วทำการขายออกไป คาดว่าจะสามารถขายได้ในราคา 1 ล้านบาท อาคารโดยปกติจะมีอายุการใข้งานอยู่ที่ 20 ปี (โจทย์เหมือน ข้อ 1 แต่เปลี่ยนวิธีการคำนวณ)

ดังนั้น
ค่าเสื่อมราคา = { [ (10+3) – (1) ] / 20 } x 2 = [ (13 – 1) / 20 ] x 2 = (12/20) x 2 = 1.2 ล้านบาทต่อปี

สรุป อาคารหลังนี้ หากคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรงจะต้องทยอยรับรู้ค่าเสื่อมราคาปีละ 1.2 ล้านบาท

ปีที่ มูลค่าตามบัญชี อัตราค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาสะสม
0 12,000,000 10% 1,200,000 600,000
1 10,800,000 10% 1,200,000 1,200,000
2 9,600,000 10% 1,200,000 1,800,000
10%
10 0 0% 0 12,000,000

3. วิธีผลรวมจำนวนปี (Sum-of-the-year Method)

เป็นวิธีที่คิดค่าเสื่อมราคาด้วยมูลค่าที่เยอะในช่วงแรก แล้วจะทยอยค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ ในปีหลังอย่างเป็นสัดส่วน ซึ่งคล้ายกับวิธียอดลดลงทวีคูณ แต่มีความละเอียดมากกว่า

วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา วิธีผลรวมจำนวนปี
วิธีคำนวณผลรวมจำนวนปี คือ n(n+1)/2 หรือ นำอายุการใช้งานของสินทรัพย์มาบวกกัน
ผลรวมจำนวนปี = n(n+1)/2 = 3(3+1)/2 = 6 หรือ 3 + 2 + 1 = 6 เช่นเดียวกัน

ค่าเสื่อมราคา = (ราคาต้นทุน – ราคาซาก) / (สัดส่วน/ผลรวมจำนวนปี)

ตัวอย่าง
เครื่องจักรราคา 1 ล้านบาท ราคาซาก 0.25 ล้านบาท อายุการใช้งาน 3 ปี

ดังนั้น
ค่าเสื่อมราคา = (1 – 0.25) x 50% = 3.75 แสนบาทต่อปี

สรุป อาคารหลังนี้ หากคิดค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรงจะต้องทยอยรับรู้ค่าเสื่อมราคาปีละ 1.2 ล้านบาท

ปีที่ มูลค่าตามบัญชี อัตราค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาสะสม
0 750,000 50.00% 375,000 375,000
1 375,000 33.33% 250,000 625,000
2 125,000 16.67% 125,000 750,000
3 0 0% 0 750,000

4. วิธีจำนวนผลผลิต (Unit of Production Method)

เป็นการคิดค่าเสื่อมตามความจริง กล่าวคือ ใช้มากเสื่อมมาก ใช้น้อยเสื่อมน้อยตามจำนวนกิจกรรม

วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา วิธีจำนวนผลผลิต

ค่าเสื่อมราคา = (ราคาต้นทุน – ราคาซาก) / กิจกรรมการผลิต*

ตัวอย่าง
เครื่องจักรราคา 1 ล้านบาท ราคาซาก 0.25 ล้านบาท ชั่วโมงการผลิต 5 หมื่นบาท
โดยปีที่ 1-2 ใช้แรงงานไป 20,000 ชั่วโมง และในปีที่ 3 อีก 10,000 ชั่วโมง

ดังนั้น
ค่าเสื่อมราคา = (1 – 0.25) / 0.05 = 0.75 / 0.05 = 15 บาทต่อชั่วโมง

สรุป เครื่องจักรนี้ มีค่าเสื่อมราคาตามวิธีจำนวนผลผลิตในปีที่ 1 คือ 60,000 บาทต่อปี

ปีที่ มูลค่าตามบัญชี อัตราค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาสะสม
0 750,000 40% 300,000 300,000
1 450,000 40% 300,000 600,000
2 150,000 20% 150,000 750,000
3 0 0% 0 750,000

*ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นชั่วโมงการผลิต ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมนั้นคืออะไร สามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ

5. วิธีรายปี (Annuity Method)

เป็นวิธีการคำนวณโดยจะคิดค่าเสื่อมราคาด้วยมูลค่าที่เยอะในช่วงแรก แล้วจะทยอยค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ ในปีหลัง แต่จะมีวิธีการคิดที่ละเอียดมากขึ้น โดยมองว่าเป็นเหมือนการลงทุนให้ได้ผลตอบแทน

วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา วิธีรายปี

ตัวอย่าง
เครื่องจักรราคาทุน 5,000 บาท อายุการใช้งาน 3 ปี และมูลค่าคงเหลือ 500 บาท
ในสิ้นปีที่ 3 ต้นทุนของเงินลงทุนอยู่ที่ 10% ต่อปี

ดังนั้น
ค่าเสื่อมราคา = 6,655 – 3.31x = 500 ; x = 1,859 บาท

สรุป เครื่องจักรนี้ มีค่าเสื่อมราคาตามวิธีรายปีและดอกเบี้ยตามตาราง

ปีที่ ค่าเสื่อมราคา อัตราดอกเบี้ย x มูลค่าตามบัญชี ค่าเสื่อมราคา - ดอกเบี้ย มูลค่าตามบัญชี
0 5,000.00
1 1,859.52 500.00 1,359.52 3,640.48
2 1,859.52 364.05 1,495.47 2,145.02
3 1,859.52 214.50 1,645.02 500.00